การสื่อสารด้วยการสัมผัส

การสื่อสารด้วยการสัมผัส
(tactile communication)

          การสัมผัสเป็นสื่อสำคัญอย่างหนึ่งของสัตว์ การอุ้มกอดซึ่งเป็นการแสดงถึงความรัก ทารกจะมีพัฒนาการดี ถ้าหากแม่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมของแม่เอง ลูกได้รับการสัมผัส ได้รับความอบอุ่นจากแม่ จากการทดลองใน ลิงวอกหรือลิงรีซัส โดย แฮร์รี่ เอฟ ฮาร์โล (Harry F. Harlow) แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซินโดยทำหุ่นโครงลวดแม่ลิงขึ้น 2โครง โครงหนึ่งมีผ้านุ่มๆหุ้มอีกโครงหนึ่งไม่มีผ้าหุ้มแต่มีขวดนมอยู่ ฮาร์โลว์ พบว่า ลูกลิงจะเกาะอยู่กับโครงลวดแม่ลิงที่มีผ้าหุ้ม และไปกินนมกับหุ่นโครงลวดแม่ลิงที่ไม่มีผ้าหุ้มกลับมาเกาะหุ่นโครงลวดที่มีผ้าหุ้มอีก พบว่าลูกลิงที่แยกออกมาโดยไม่ให้แม่ของมันเลี้ยง ลูกลิงนี้จะมีปัญหาในด้านการปรับตัว และเข้ากับลูกลิงตัวอื่นๆ ที่มีแม่เลี้ยงไม่ได้ ลูกนกนางนวลจะใช้จะงอยปากจิกที่จุดสีแดงบนจะงอยปากของแม่ แสดงการขออาหารจากแม่ สุนัขจะเข้าไปเลียปากสุนัขตัวที่เหนือกว่าซึ่งเป็นการเอาใจ ลิงชิมแปนซีจะยื่นมือให้ลิงตัวที่มีอำนาจเหนือกว่าจับ เป็นต้น




ภาพ ลูกแมวใช้มือสัมผัสกับแม่แมว
ที่มา:http://terdsak.weebly.com/uploads/1/3/4/3/13432405/9122204_orig.jpg



ภาพ  แม่ลิงใช้มือสัมผัสลูกลิง

นักวิทยาศาสตร์กล่าว่า การสัมผัสโดยการโอบกอด จะทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิตดีขึ้น ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์บริเวณผิวหนังที่สัมผัสการ โอบกอดจะได้รับออกซิเจนมากขึ้น ทำให้ภูมิต้านทานโรคเพิ่มขึ้นด้วย



ที่มา:http://watchawan.blogspot.com/2010/05/blog-post_211.html

No comments:

Post a Comment