การสื่อสารด้วยสารเคมี

             การสื่อสารด้วยสารเคมี    
 (chemical communication)
      มีความสำคัญมากในสัตว์ต่างๆ แต่ในคนมีความสำคัญน้อย สัตว์ต่างๆ จะสร้างสารเคมีที่เรียกว่า ฟีโรโมน (pheromone) ใช้ในการติดต่อสื่อสารในสัตว์ชนิดเดียวกันแบ่งออกเป็น

       1 ฟีโรโมนที่ทำให้เกิดพฤติกรรมทันที (releaser pheromone) เช่น สารดึงดูดเพศ  ตรงข้าม (sex attractants) เช่น ฟีโรโมนที่ผีเสื้อไหมตัวเมียปล่อยออกมาเพื่อดึงดูดความสนใจของผีเสื้อไหมตัวผู้
       2 ฟีโรโมนที่ไปกระตุ้น แต่ไม่เกิดพฤติกรรมทันที (primer pheromone) ฟีโรโมนชนิดนี้จะไปกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา และเกิดพฤติกรรมในเวลาต่อมา เช่น ฟีโรโมนของหนูตัวผู้ชักนำให้หนูตัวเมีย เป็นสัดและพร้อมที่จะผสมพันธุ์
ฟีโรโมนของแมลงส่วนใหญ่เป็นสารพวกแอลกอฮอล์โมเลกุลสั้นๆ จึงระเหยไปในอากาศ ได้ดี จึงสามารถไปกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ได้ฟีโรโมนที่สำคัญ ได้แก่
              1) ฟีโรโมนทางเพศ (sex pheromone) พบในแมลงหลายชนิด เช่น ผีเสื้อไหมตัวเมีย จะปล่อยสารแอลกอฮอล์เรียกว่าบอมบายโกล (Bombygol) เพื่อดึงดูดผีเสื้อไหมตัวผู้ให้มาหาและเกิดการผสมพันธุ์ ผีเสื้อไหมตัวผู้จะมีหนวด มีลักษณะเหมือนฟันหวีเป็นอวัยวะรับกลิ่น ฟีโรโมนชนิดนี้มีประสิทธิ์ภาพสูง ทำให้ดึงดูดเพศตรงข้ามได้แม้ว่าจะอยู่ไกลๆ ในปัจจุบันมีการสังเคราะห์สาร เช่น ยูจีนอล (eugnol) ซึ่งเลียนแบบฟีโรโมนธรรมชาติ เพื่อดึงดูดแมลงวันทองหรือแมลงวันผลไม้ให้มารวมกันเพื่อกำจัดแมลงได้ครั้งละมากๆ


Pheromone-Silkmoth

 ภาพ  ผีเสื้อไหมตัวเมีย จะปล่อยสารแอลกอฮอล์เรียกว่าบอมบายโกล (Bombygol) เพื่อดึงดูดผีเสื้อไหมตัวผู้ให้มาหาและเกิดการผสมพันธุ์
 ที่มา:http://www.jbf.co.th/index.php/2012-11-13-08-45-03/33-pheromone-for-insect-pest-control

             2) ฟีโรโมนปลุกระดม (aggregation pheromon) เป็นสารที่ใช้ประโยชน์ ในการปลุกระดมให้มารวมกลุ่มกันเพื่อกินอาหารผสมพันธุ์หรือวางไข่ ในแหล่งที่เหมาะสม เช่น ด้วงที่ทำลายเปลือกไม้ (bark beetle) ปล่อยฟีโรโมนออกมา เพื่อรวมกลุ่มกันยังต้นไม้ที่เป็นอาหารได้
            3) ฟีโรโมนเตือนภัย (alarm pheromone) สารนี้จะปล่อยออกมาเมื่อมีอันตราย เช่น  มีผู้บุกรุกผึ้งหรือต่อที่ทำหน้าที่เป็น ทหาร ยาม จะปล่อยสารเคมีออกมาให้ผึ้งหรือต่อในรังรู้ ผึ้งเมื่อต่อยผู้บุกรุกแล้วจะปล่อยสารเคมีเตือนภัยเรียกว่า ไอโซเอมิลแอซิเตต (isoamyl acetate) ไปให้ผึ้งตัวอื่นรู้เพื่อจะได้ช่วยกันต่อสู้ศัตรูที่บุกรุกเข้ามา





                                   ภาพ  ตัวต่อปล่อยฟีโรโมนเรียกผึ้งตัวอื่นช่วยกันไล่ศัตรู

           4) ฟีโรโมนตามรอย (trail rhermone) เช่น สุนัขจะปล่อยสารฟีโรโมนไปกับปัสสาวะตลอดทางที่ผ่านไป เพื่อเป็นเครื่องหมายนำทางและประกาศเขตแดน ผึ้งและมดจะผลิตสารจากต่อมดูเฟอร์ (Dufour’s gland) ซึ่งอยู่ติดกับต่อมเหล็กในทำให้สามารถตามรอยไปยังแหล่งอาหารได้ ผึ้งยังใช้สารที่สะสมจากดอกไม้เรียกว่า เจรานิออล (geraniol) เป็นสารในการตามรอยด้วย
          5) ฟีโรโมนนางพญา (queen – substance pheromone) สารชนิดนี้พบในแมลงสังคม (social insect) เช่น ผึ้ง ตัวต่อ แตน มด ปลวก สารชนิดนี้ทำหน้าที่ในการควบคุมสังคม ฟีโรโมนของนางพญาผึ้ง คือ สารที่มีฤทธิ์เป็นกรดคือ กรดคีโตเดเซโนอิก (keto – decenoic acid) สารนี้จะปล่อยออกจากตัวนางพญา เมื่อผึ้งงานทำความสะอาดจะได้รับกลิ่นทางหนวด และเมื่อเลียตัวนางพญาก็จะได้กินสารนี้ด้วย ทำให้ผึ้งงานเป็นหมันและทำงานตลอดไป นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็น ฟีโรโมนทางเพศ กระตุ้นให้ผึ้งตัวผู้ผสมพันธุ์ และยังควบคุมไม่ให้ผึ้งงานผลิตผึ้งนางพญาตัวใหม่ด้วย ดังนั้นรังผึ้งจึงมี นางพญาเพียงตัวเดียว

     สารเคมีที่ทำหน้าที่ในการป้องกันตัวช่วยให้ปลอดภัยเรียกว่า แอลโลโมน (allomone) เช่น ตัวสกั๊งจะปล่อยกลิ่นที่เหม็นมาก ออกจากต่อมทวารหนัก แมลงตดเมื่ออยู่ในภาวะอันตรายจะปล่อยสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรด และมีกลิ่นเหม็นมากเพื่อป้องกันตัวทำให้ศัตรูละทิ้งไป



ที่มา:http://watchawan.blogspot.com/2010/05/blog-post_211.html

No comments:

Post a Comment