การสื่อสารระหว่างสัตว์
พฤติกรรมสื่อสารระหว่างสัตว์
(animal communication behavior)
มีหลายลักษณะดังนี้
1. การสื่อสารด้วยท่าทาง (visual communication) การสื่อสารด้วยท่าทาง พบได้ในสัตว์หลายชนิด เช่น การกระดิกหางของสุนัข แสดงการต้อนรับ และหางตกแสดงอาการกลัว
1.1 การสื่อสารของผึ้ง ศึกษาและทดลองเมื่อปี พ.ศ. 2488 โดย คาร์ล ฟอน ฟริช (Karl von Frisch) แห่งมหาวิทยาลัยมิวนิค เยอรมันตะวันตก โดยฟริชพบว่าผึ้งสำรวจ(scout honeybee) มีความสามารถในการส่งข่าวให้ผึ้งงาน (worker) ทราบได้ว่าที่ใดมีอาหารและเป็นอาหารชนิดใด โดยที่ผึ้งสำรวจจะนำอาหารมายังรังแล้วหยอดอาหารนั้นให้ผึ้งในรังทราบต่อจากนั้นผึ้งสำรวจจะเต้นรำเพื่อบอกระยะทางและทิศทางของอาหาร โดยเต้นรำเป็น 2 แบบคือ
1.1.1 การเต้นรำแบบวงกลม (round dance) ถ้าหากอาหารอยู่ใกล้ เช่น ประมาณ 50 เมตร และไม่เกิน 80 เมตร ผึ้งสำรวจจะเต้นรำ เป็นวงกลม โดยเคลื่อนตัวไปทางด้านขวาก่อนในลักษณะตามเข็มนาฬิกา แล้วจึงหมุนไปทางซ้ายมือคือ ทวนเข็มนาฬิกา มันจะทำแบบนี้ซ้ำๆกันหลายๆ ครั้งผึ้งอื่นๆ ที่อยู่รอบๆ จะเข้ามาสัมผัส เพื่อให้ทราบชนิดของอาหารและดอกไม้และทำให้ผึ้งตัวอื่นบินตามผึ้งสำรวจไปยังแหล่งอาหารได้การเต้นรำแบบนี้ไม่สามารถบอกทิศทางของอาหารจาก ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ได้1. การสื่อสารด้วยท่าทาง (visual communication) การสื่อสารด้วยท่าทาง พบได้ในสัตว์หลายชนิด เช่น การกระดิกหางของสุนัข แสดงการต้อนรับ และหางตกแสดงอาการกลัว
1.1 การสื่อสารของผึ้ง ศึกษาและทดลองเมื่อปี พ.ศ. 2488 โดย คาร์ล ฟอน ฟริช (Karl von Frisch) แห่งมหาวิทยาลัยมิวนิค เยอรมันตะวันตก โดยฟริชพบว่าผึ้งสำรวจ(scout honeybee) มีความสามารถในการส่งข่าวให้ผึ้งงาน (worker) ทราบได้ว่าที่ใดมีอาหารและเป็นอาหารชนิดใด โดยที่ผึ้งสำรวจจะนำอาหารมายังรังแล้วหยอดอาหารนั้นให้ผึ้งในรังทราบต่อจากนั้นผึ้งสำรวจจะเต้นรำเพื่อบอกระยะทางและทิศทางของอาหาร โดยเต้นรำเป็น 2 แบบคือ
ภาพ การเต้นรำแบบวงกลมของผึ้ง
1.1.2 การเต้นรำแบบส่ายท้อง (wagging dance) หรือการเต้นระบำแบบเลข แปด ซึ่งมีความซับซ้อนกว่าแบบแรกเพราะจะใช้ในการสื่อสารบอกตำแหน่งของอาหารและระยะทางของอาหารได้ หลังจากที่ผึ้งสำรวจไปพบแหล่งอาหารจะกลับมารังแล้วเต้นระบำแบบส่ายท้องหมุนไปทางขวาทีซ้ายทีเป็นรูปเลขแปด โดยวงแรกจะเต้นไปตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกาในวงที่ 2 ความเร็วของการเต้นส่ายท้องประมาณ 13-15 ครั้งต่อนาที ถ้าหากว่าแหล่งอาหารอยู่ไม่ไกลมาก อัตราการเต้นระบำส่ายท้องจะเร็วและใช้เวลาสั้นในการเต้นจนครบรอบ หากแหล่งอาหารอยู่ไกล อัตราการส่ายท้องจะช้าลง ใช้เวลาในการเต้นจนครบรอบ ดังนั้นความเร็วของการส่ายท้องจะบอกระยะทางของแหล่งอาหารได้ เช่น ระยะทาง 100 เมตร จะเต้นให้ครบรูปเลขแปด ในเวลา 1.24 นาที ระยะทาง 1000 เมตร ใช้เวลา 3 นาที และถ้าไกลถึง 8 กิโลเมตรจะใช้เวลา 48 นาที สำหรับการบอกทิศทางของแหล่งอาหารจะอาศัยดวงอาทิตย์เป็นเข็มทิศ หากผึ้งสำรวจเต้นรำแล้วเคลื่อนตัวไปข้างหน้า (ทางด้านบนของรังผึ้ง) แสดงว่า อาหารอยู่ทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์ หากเต้นรำแล้วเคลื่อนตัวลงมาข้างล่างแสดงว่าทิศทางอาหารอยู่ตรงข้ามกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์ หากเต้นระบำแล้วเคลื่อนตัวไปทางซ้ายของรังผึ้งเป็นมุม 30 องศากับแนวดิ่ง แสดงว่าอาหารอยู่ทางซ้ายทำมุมกับดวงอาทิตย์ 30 องศา ถ้าหากเต้นรำแล้วเคลื่อนตัวไปทางขวาเป็นมุม 60 องศากับแนวดิ่ง แสดงว่า อาหารอยู่ทางขวาทำมุมกับดวงอาทิตย์ เป็นมุม 60 องศา ดังนั้นผึ้งงานก็จะเข้าใจทั้งระยะทาง และทิศทางของอาหารจึงไปนำอาหารนั้นมาเก็บไว้ในรังได้
1.2 การสื่อสารของปลาสติกเกิลสามหนาม (three spined stickleback) ศึกษาโดย
เอน ทิน เบอร์เกน และผู้ร่วมงาน เขาพบว่าในฤดูใบไม้ผลิซึ่งเป็นฤดูผสมพันธุ์ ปลาตัวผู้จะมีส่วนท้องเป็นสีแดงและปลาตัวเมียมีท้องป่องบวมขึ้นมา เนื่องจากการมีไข่สีแดงสดที่ท้องปลาตัวผู้จะกระตุ้นให้ปลาตัวเมียสนใจ และในขณะเดียวกัน ปลาตัวผู้จะสนใจปลาตัวเมียที่ท้องป่อง ก่อให้เกิดพฤติกรรมการผสมพันธุ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็นขั้นตอนและมีแบบแผน ซึ่งจะมีผลในการกระตุ้นกันเป็นระบบทำให้เกิดการผสมพันธุ์ขึ้น และจะเกิดในรูปแบบนี้ ถ้าหากเป็นปลาชนิดอื่นก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน มันจึงไม่มีการผสมผิดชนิดกัน อย่างเด็ดขาด
ภาพ การสื่อสารของปลาสติกเกิลสามหนาม
ที่มา:http://watchawan.blogspot.com/2010/05/blog-post_211.html
No comments:
Post a Comment