การสื่อสารด้วยเสียง
(sound communication)
การสื่อสารด้วยเสียงเป็นการสื่อสารที่คุ้นพบมากในสัตว์ชั้นสูงทั่วๆไป และยังพบในแมลงด้วย เสียงจะมีความแตกต่างออกไปโดยมีจุดมุ่งหมายคล้ายๆ กันดังนี้ คือ1 ใช้บอกชนิดของสัตว์ ซึ่งอยู่ในสปีชีส์เดียวกัน
2 ใช้บอกเพศว่าเป็นเพศผู้หรือเพศเมีย
3 ใช้บอกตำแหน่งของตนเองให้ทราบว่าอยู่ที่จุดใด
4 เป็นการประกาศเขตแดนให้สัตว์ตัวอื่นๆ รู้
5 ใช้บอกสัญญาณเตือนภัยหรือข่มขู่
6 ใช้บอกความรู้สึกต่างๆ และการเกี้ยวพาราสี
ภาพ การสื่อสารด้วยเสียงของผึ้ง
ชนิดของเสียง มีดังนี้
1. เสียงเรียกติดต่อ (contact calls) เป็นสัญญาณในการรวมกลุ่มของสัตว์ชนิดเดียวกัน เช่น แกะ สิงโตทะเล
ภาพ กระรอกส่งเสียงเรียกเตือนภัย
2. เสียงเรียกเตือนภัย (warning calls) โดยเมื่อสัตว์ตัวหนึ่งพบว่าจะมีอันตราย เกิดขึ้นจะส่งเสียงร้องให้สัตว์ตัวอื่น ๆ ทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่น นก กระรอก
3. เสียงเรียกคู่ (mating calls) เช่น การร้องเรียกคู่ของกบตัวผู้ เพื่อเรียกตัวเมีย
ให้เข้ามาผสมพันธุ์ การสีปีกของจิ้งหรีดตัวผู้รียกร้องความสนใจจากตัวเมีย การขยับปีกของยุงตัวเมีย เพื่อดึงดูดความสนใจของยุงตัวผู้ให้เข้ามาผสมพันธุ์
4. เสียงกำหนดสถานที่ของวัตถุ (echolocation) เช่น ในโลมาและค้างคาวจะใช้
เสียงในการนำทางและหาอาหาร โดยปล่อยเสียงที่มีความถี่สูงออกไป และรับเสียงสะท้อนที่เกิดตามมาและมันจะรู้ได้ว่าตำแหน่งของวัตถุที่อยู่ข้างหน้าอยู่ที่ตำแหน่งใด
ภาพ ค้างคาวส่งเสียงเรียกเตือนภัย
ที่มา:http://watchawan.blogspot.com/2010/05/blog-post_211.html
No comments:
Post a Comment